สถิติผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday62
mod_vvisit_counterYesterday70
mod_vvisit_counterThis week370
mod_vvisit_counterLast week666
mod_vvisit_counterThis month242
mod_vvisit_counterLast month2727
mod_vvisit_counterAll days543942

Online (20 minutes ago): 3
Your IP: 3.239.3.196
,
Today: ต.ค. ๐๓, ๒๕๖๗
ศาลพระพรหม PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอังคารที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๐๗:%M น.

 lk2hL1279678006-1

นิยามของ พรหม ใน ภควัทคีตา (บทเพลงแห่งองค์ภควันต์)

สิ่งที่บุคคลควรรู้สูงสุดคือ พรหม
พรหมคือสภาวะอันสูงสุด ไม่มีเบื้องต้น ไม่เป็นทั้งสิ่งมีอยู่และสิ่งไม่มีอยู่
พรหมหยั่งรู้ถึง อารมณ์ โลภ โกรธ หลง แต่พรหมปราศจากอารมณ์เหล่านั้น
พรหมไม่มีความยึดมั่นในสรรพสิ่ง
พรหมคือสภาวะอยู่เหนือความดีและความชั่ว
พรหมมิอาจหยั่งรู้ได้ด้วยการคิดและใช้เหตุผล
พรหมคือแสงสว่างเหนือแสงสว่างทั้งปวง


        การอัญเชิญพระพรหมเทพที่เพื่อมาสถิต “ท้าวสหัมบดีพรหมหรือท้าวมหาพรหม”  จากตำนานเล่าถึงท้าวสหัมบดีว่า  เมื่อก่อนภัทกัปป์  สมัยโลกถูกไฟปลัยกัลป์เผาโลกมนุษย์ไป  แล้วพื้นโลกเป็นน้ำไปหมด  ว่างจากสัตว์ทุกจำพวก  วันหนึ่งท้าวสหัมบดีได้ทอดพระเนตรลงมาดูทรงเห็นดอกบัวปทุมชาติสีขาว  5 ดอก  ลอยอยู่บนพื้นน้ำ  จึงทราบว่าถึงภัทกัปป์แล้ว  คือกัปป์ที่มีพระพุทธเจ้ามาทรงตรัสรู้ติดต่อกัน  5 พระองค์  พระนามว่า  “พระกุกกุสันโธ, พระโกนาคม,พระพุทธกัลป, พระสมณโคดม,  พระศรีอริยเมตไตย์”  ลักฐานที่ปรากฏในพระปฐมสมโภช  กล่าวว่า  เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว  ท้าสหัมบดีถือเป็นคนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาอันสูงสุดให้ฟัง  ดังนั้นจึงมีชื่อธรรมทั้งสี่ประการว่า “พรหมวิหารสี่”  คือ  เมตตา,  กรุณา,  มุทิตา,  และอุเบกขา  นั่นเอง

          บางตำนานกล่าวถึงการกำเนิดของพระพรหมไว้ต่างกัน  เช่น  บอกว่าเป็นองค์สยมภูเกิดขึ้นเอง  บางตำนานก็ว่ากำเนิดจากไข่ทอง  ในหนังสือมหาภารตะและคัมภีร์ปุราณะบอกว่า   พระพรหมนั้นกำเนิดจากดอกบัว  ซึ่งผุดมาจากพระนาภีของพระนารายณ์ขณะทรงบรรทมอยู่บนหลังอนันตนาคราช  ณ เกษียรสมุทร

          ลักษณะของพระพรหมตามคติความเชื่อว่า  มีวรกายเป็นสีแดง  สี่เศียร  แต่บางตำนานกล่าวว่าเดิมนั้น  พระพรหมมีห้าเศียร  แต่หลังจากพระพรหมพูดดูหมิ่นพระศิวะ  จึงถูกเผาด้วยดววงตาที่สามของพระศิวะไปหนึ่งเศียร  พระพรหมมีสี่กร  หรือแปดกรในบางปางและกรนั้นถือสิ่งต่าง ๆ เช่น ช้อน  ลูกประคำ  คันศร  แจกัน  คัมภีร์พระเวท

              ในเมืองไทย  พระพรหมถือว่ามีอิทธิพลโดยตรงต่อความเชื่อ  ความเลื่อมใสศรัทธา  ศาลพระพรหมที่ถือว่าเป็นแบบฉบับในยุคนี้ก็คือ “พระพรหมเอราวัณ”  ความเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์นั้น  เชื่อว่าช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งเลวร้ายออกไป  อำนวยโชค  ประสพผลสำเร็จทั้งปวง  ศาลพระพรหมแห่งนี้เชื่อว่าเป็นต้นแบบศาลพระพรหมในปัจจุบัน  ซึ่งเกิดขึ้นจากการสร้าง “โรงแรมเอราวัณ”  ของบริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว  ประมาณ พ.ศ.2494-2499  เล่ากันว่า  การสร้างโรงแรมใน  2-3 ปีแรก  เกิดปัญหาความล่าช้าจนถึงขั้นหยุดชะงัก  มาจากสาเหตุ  อุบัติเหตุที่ไม่น่าเชื่อที่เกิดขึ้นมามากมายในขณะก่อสร้าง  ดังนั้นจึงเชิญ  “หลวงสุวิชานฯ”  ผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์มาตรวจดู  จึงทราบสาเหตุว่า  เกิดจากการเอาชื่อ “เอราวัณ” มาตั้งเป็นชื่อโรงแรม  เนื่องจากเป็นชื่อของช้างทรงของพระอินทร์  อีกทั้งก่อนดำเนินการก่อสร้างไม่ได้มีพิธีบวงสรวงบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อน  จึงได้ให้แก้ไขโดยการบวงสรวงขอพรจากพระพรหม  และเมื่อสร้างโรงแรมสำเร็จก็มีการตั้งศาลพระพรหมขึ้นมา

    การตั้งศาลพระพรหม
                การตั้งศาลพระพรหมผู้ทำพิธีตั้งอาจจะเป็นหมอชาวบ้านหรือพราหมณ์ก็ได้แต่ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติตัวอยู่ในศีลในธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม จะทำให้การตั้งศาลพระพรหมบังเกิดผลดี มีความเจริญรุ่งเรืองแก่เจ้าของบ้าน เจ้าของกิจการ

    สถานที่ตั้งศาลพระพรหม มีหลักการพิจารณาดังนี้ 
    1. ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน มิใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน

    2.หากไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถทำการตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ส่วนใหญ่ศาลที่ตั้งบนดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพต่างๆ เช่นพระพรหม หรือ พระนารายณ์ มิใช่พระภูมิเจ้าที่
    3. จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ
    4. ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
    5. อย่าตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวบ้านมากนัก
    6. อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
    7. ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน
    8. ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร
    9. ถ้าสามารถยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นสัก 1 คืบ จากพื้นดินได้ ก็เหมาะสมอย่างยิ่ง
    10. ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อย

    ขั้นตอนการตั้งศาลพระพรหม โดยพราหมณ์
    1. เจ้าของสถานที่เชิญท่านพราหมณ์ไปดูสถานที่ตั้ง เลือกทำเลและทิศที่เหมาะสำหรับตั้งศาลพระพรหม
    2. ท่านพราหมณ์ดูฤกษ์ยามที่เหมาะสม
    3. เจ้าของสถานที่เลือกซื้อศาล พร้อมอุปกรณ์ตั้งศาล และเครื่องสังเวย
    4. เมื่อถึงฤกษ์ตามวันที่กำหนด เจ้าของบ้านต้องจัดเตรียมเครื่องสังเวยไว้เพื่อเตรียมทำพิธี   ท่านพราหมณ์ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ จะวางในฐานชิ้นล่างสุดของศาลพระพรหม สิ่งที่นำมาวางรากฐานประกอบไปด้วย แผ่นเงิน-ทอง-นาค, อิฐเงิน-ทอง-นาค, พลอยนพเก้า,  ข้าวตอก ถั่ว งา, ดอกไม้ 9 สี  และไม้มงคล 9 ชนิด คือ 
    - ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึงความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
    - ไม้ขนุน  หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยทำอะไรมีแต่คนเกื้อหนุน
    - ไม้ชัยพฤกษ์  หมายถึง การมีชัยชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่างๆ
    - ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีทรัพย์สิน มีเงิน มีทองใช้ไม่ขัดสน
    - ไม้ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุขทางกายสบายใจ ไร้ทุกข์โศกโรคภัย
    - ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
    - ไม้สัก  หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ อำนาจบารมี คนเครารพนับถือและยำเกรง
    - ไม้พะยูง  หมายถึง พยุงฐานะให้ดีขึ้น
    - ไม้กันเกรา  หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกชื่อ หนึ่งว่า ตำเสา ซึ่งหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง
    5.  ท่านพราหมณ์สวดมนต์ทำพิธี  และอันเชิญองค์พระพรหมขึ้นสู่ศาล
    6. เมื่อทำพิธีเสร็จแล้ว เชิญเจ้าของสถานที่ไหว้ และแจกจ่ายอาหารให้กับบริวารเพื่อเป็นอาหารทิพ ถือว่าผู้ใดได้รับประทานอาหารจากพิธีแล้วจะไม่ป่วยไข้และทำการค้าราบรื่นร่ำรวย

    แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ ๐๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๖:%M น.
     
    Secured by Siteground Web Hosting